อิสลามกับการทุจริต คิดมิชอบ
  • 23 กุมภาพันธ์ 2018 at 10:12
  • 7783
  • 0

อิสลามกับการทุจริต คิดมิชอบ

 

ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย หัวใจของเราที่เปี่ยมล้นด้วยความยำเกรงหรือ “ตักวา” ต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) อย่างยั่งยืนนั้น ย่อมนำพาตนเองใปสู่แนวทางอันเที่ยงตรง และเป็นแนวทางที่มีความปลอดภัยในชีวิต ทั้งในโลกนี้และโลกปรภพอย่างแน่นอน ดังนั้น  วาระเร่งด่วนของประชาคมมุสลิมทุกวันนี้คือ การชึมซับชีวิตและจิตวิญญูาณให้มี “ตักวา” อยู่เสมอ โดยบริหารชีวิตจิตใจให้ห่างไกลกับความชั่วช้าสามาลย์ทั้งหลาย  รวมทั้งการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต  คิดมิชอบ หรือการประพฤติตนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ไม่สุจริตในรูปแบบต่าง ๆ แต่หันสู่ภารกิจที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมีคำสอนให้ประพฤติ ปฏิบัติเป็นวิถีชีวิต จึงจะเรียกว่าเป็นผู้ที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) อย่างแท้จริง

ปัจจุบัน ปัจจัยการทุจริตไต้แพร่ระบาดในสังคมไทยทุกระดับ ทุกกลุ่มชน เมื่อพิจารณาสารัตถะจากมุมมองของพระคัมภีร์อัลกุรอาน อาจสรุปได้ในประโยคหนึ่ง ว่า : เนื่องจากมนุษย์ไม่มีความเชื่อในพระเจ้า และการไม่ปฏิเสธมวลผู้ละเมิดทั้งหลาย (หมายถึง ทุกสิ่งที่ไม่ใช่พระเจ้าและไม่มีสีสันของพระเจ้า)

นั่นคือ ความเชื่อมั่นในอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และการปฏิเสธบรรดาผู้ละเมิด ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการควบคู่หรือร่วมกัน อันก่อให้เกิดความก้าวหน้า และความเป็นเลิศของบุคคลและสังคมอย่างแน่นอน ดังปรากฏนัยแห่งอัลกุรอาน ดังนี้

ความว่า “แน่นอน เราได้ส่งรอซูลมาในทุกประชาชาติ (โดยบัญชาว่า) “พวกท่านจงเคารพภักดีอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และจงหลีกห่างจากพวกเจว็ด” ดังนั้นในหมู่พวกเขามีผู้ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงชี้แนะทางให้และในหมู่พวกเขามีการหลงผิดคู่ควรแก่เขา  ดังนั้น พวกเจ้าจงตระเวนไปในแผ่นดิน แล้วจงดูว่าบั้นปลายของผู้ปฏิเสธนั้นเป็นเช่นใด”  (ซูเราะฮ์อัลนะฮ์ลิ อายะฮ์ที่ 36)

ท่านพี่น้องผู้มีอิหม่านที่รักทั้งหลาย คุณภาพของมนุษย์นั้น อยู่ในกรอบของคำสอนศาสนาอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้มอบไว้ในอำนาจของมนุษย์ ขณะที่มนุษย์ ได้นำเอาบทบัญญัติของอิสลามด้านคุณธรรมมาเป็นครรลองในการปฏิบัติในมุมมองต่างๆ ของชีวิตด้วยความคิดอิสระ  พร้อมทั้ง ให้คำตอบกับความต้องการอันเป็นธรรมชาติของตัวเอง และก้าวไปถึงวัตถุประสงค์ที่เป็นเป้าหมายในการสร้าง จนสามารถประสบความสำเร็จ หากเป็นเพราะความหลงใหลที่มีต่อโลก โดยละเมิดคำสั่งสอนของศาลนา หรือเลือกปฏิบัติบทบัญญัติบางประการ อันไม่ก่อผลเสียหายต่อผลประโยชน์ทางโลกของตน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เท่ากับได้เลือกปฏิบัติตามความพอใจ หรือปฏิบัติตามอำนาจฝ่ายต่ำของตน ด้วยเหตุนี้ สิ่งดังกล่าวได้กลายเป็นปัจจัยฉุดกระชากให้ตนเองและสังคมตกต่ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการโน้มนำสังคมและชุมชนไปสูความล้าหลังและความตกต่ำอย่างน่าเศร้าใจยิ่ง

ความก้าวหน้าและความตกต่ำของสังคม มีปัจจัยสำคัญที่สุด คือ ผู้บริหารหรือผู้ปกครองในสังคม หากเป็นคนมีศาสนาหรือมีความเคร่งครัดในระเบียบคำสอนของศาสนาอย่างสมบูรณ์ หรือมีความมั่นคงต่อคำสอน และแพร่ขยายนำไปสู่การปฏิบัติด้วยความละเอียดอ่อนในสังคม บรรดาผู้รู้และผู้มีบทบาทในสังคมต่างให้การสนับสนุนถ้วนหน้า บุคคลทั่วไปก็ถือปฏิบัติตามผู้รู้และผู้บริหารผู้ปกครองในสังคม ทำให้พวกเขาได้ออกห่างจากความชั่วร้ายและสิ่งไม่ดีทั้งหลาย แต่ถ้าผู้บริหารหรือผู้ปกครองคนนั้นไม่มีความเคร่งครัดในศาสนา ลุ่มหลงโลกและทรัพย์ศฤงคาร หวงแหนในลาภยศสรรเสริญ ไม่ว่าจะด้วยวิถีทางใดก็ตาม อีกทั้งจมปลักอยู่กับกิเลสและความต้องการ ไม่ให้เกียรติผู้รู้หรือใช้ประโยชน์ในทางที่ผิดจากพวกเขา ไม่สนใจที่จะแก้ไขปัญหาของสังคม หรือกดขี่เอารัดเอาเปรียบผู้คนทั้งหลาย แน่นอน จิตใจของพี่น้องทั่วไปย่อมฟุ้งซ่านและมีความกระวนกระวายใจ ดังนั้น หากผู้บริหาร หรือ ปกครองไม่ต้องการที่จะปรับปรุงสังคมให้เป็นไปในทางที่ดี และบุคคลทั่วไปก็ไม่ช่วยกันกำชับความดีงาม หรือห้ามปรามความชั่วร้าย ทั้งหมดยึดถือวัฒนธรรมความชั่วร้ายที่คล้ายคลึงกัน ทั้งหมดลุ่มหลงและมีความอยากได้ไนทรัพย์ของคนอื่น แน่นอน หากสังคมเป็นเช่นนี้ สมาชิกของสังคมนั้นก็จะค่อย ๆ ปนเปื้อนความสกปรกเหล่านั้นดุจเดียวกัน ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้นก็ตาม ถือเป็นความยากลำบากอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่มีความสะอาดบริสุทธิ์ โดยเขาต้องการจะปกป้องศาสนาของเขาให้รอดพ้น และปลอดภัย

ด้วยเหตุนี้ จุดกำเนิดของความชั่วร้ายในสังคม เริ่มจากความหลงใหลต่อโลกหลงตัวเอง หลงตำแหน่ง ทะเยอทะยาน ใฝ่สูงในยศถาบรรดาศักดิ์ ต้องการมีอิทธิพลต่อฝ่ายบริหาร ดังนั้น ความเสื่อมศรัทธาในผู้บริหาร ผู้ปกครองก็เกิดจากชนเหล่านี้ด้วยเช่นเดียวกัน หากประชาเนนิ่งเฉยต่อการกระทำของพวกเขา ก็ต้องพลอยรับกรรมตามไปด้วย

ขออนุญาตอ้างอิงตัวอย่างในอดีตกาล เมื่อบุคคลเฉกเช่นยะซีดได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ปกครองรัฐอิสลามในสมัยนั้น เป้าหมายมิใช่สิ่งใดอื่นนอกจากความภาคภูมิใจและความใฝ่ฝันที่จะเป็นผู้ปกครอง การแสวงหาอำนาจ ตำแหน่ง ทรัพย์สิน ชื่อเสียงกิเลส อำนาจใฝ่ต่ำ และการจมปลักอยู่กับความลุ่มหลงทางโลก นำเอาบุคคลเฉกเช่น นักรายงานหะดีษ ผู้เผยแผ่ศาสนาให้มารับผิดชอบเรื่องการปกครอง หรือนำเอาบุคคลอื่น เนื่องจากหวาดกลัว หรือห่วงในทรัพย์สิน จึงได้นิ่งเงียบปล่อยให้ทุกอย่างไปตามยะถากรรม เนื่องจากเขาได้ทำลายประวัติศาสตร์และต้องการพลิกผันประวัติศาสตร์ให้เป็นอย่างอื่น จึงแนะนำผู้ปกครองว่าเป็นนักปราชญ์ทางศาสนา เขาได้วินิจฉัยผิดพลาดและปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของตน เขาจึงผิดพลาด ซึ่งความผิดพลาดของเขาได้สร้างบาปกรรมแก่ครอบครัวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นที่สุด พวกเขาได้ถูกกดขี่ทรมาน หลังจากนั้น ผู้กระทำผิดได้แสร้งกลับตัวกลับใจ ขอลุแก่โทษต่อพระเจ้า ดังนั้น ทุกคนจำเป็นต้องให้เกียรติเขา ไม่มีผู้ใดมีสิทธิที่จะแสดงความรังเกียจพวกเขา มิเช่นนั้นจะกลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา เมื่อประชาชนได้ยินได้ฟังสิ่งเหล่านี้โดยไม่กลั่นกรองให้ดี แต่กลับนำเอาคำพูดไร้แก่นสารบรรจุไว้ในโสตประสาทของตน ดังนั้น เขาจะไม่มีวันทำลายความเสื่อมทรามทางสังคมให้หมดสิ้นไปได้ หรือจะมีความคาดหวังว่า สังคมจะก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความเจริญได้อย่างแน่นอน

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ปัจจัยที่ทำให้สังคมตกต่ำคือ การมีแนวคิดแบบฎอฆูต (ผู้อธรรมหรือละเมิด) และการละทิ้งศาสนาของพระเจ้า ซึ่งครอบคลุมพฤติกรรม ดังต่อไปนี้

1. การประฏิเสธไม่ยอมรับบรรดาศาสดา (อ.) หรือการไม่สนใจนำโองการของพระเจ้ามาปฏิบัติ หรือปฏิบัติตามคำสอนเหล่านั้นอย่างไม่สมบูรณ์ ดังที่อัลกุรอ่านกล่าวว่า

ความว่า “และหากว่าชาวเมืองนั้นได้มีศรัทธาและมีความยำเกรง แน่นอนเราก็คงเปิดความจำเริญจากฟ้าและแผ่นดินให้แก่พวกเขา ทว่าพวกเขาปฏิเสธ ดังนั้น เราจึงได้ลงโทษพวกเขา เนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขาขวนขวายไว้” (ซูเราะฮ์อัลอะอ์รอฟ อายะฮ์ที่ 96)

2. สังคมไร้ซึ่งความยุติธรรม ประกอบกับการมีผู้ปกครองที่เลวร้าย ดังปรากฎนัยแห่งอัลกุรอาน ดังนี้

ความว่า “เหล่านี้คือโองการทั้งหลายแห่งคัมภีร์อันชัดแจ้ง” (ซูเราะฮ์ อัลเกาะศอส อายะฮ์ที่ 2)

3. ความแตกแยก บ่อนทำลาย และสร้างความเสียหายบนหน้าแผ่นดินโปรดพิจารณานัยแห่งอัลกุรอ่าน ดังนี้

ความว่า “และจงเชื่อฟังอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และรอซูลของพระองค์เถิด และจงอย่าขัดแย้งกัน จะทำให้พวกเจ้าย่อท้อ และทำให้ความเข้มแข็งของพวกเจ้าหมดไป และจงอดทนเถิด แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั้นทรงอยู่กับผู้ที่อดทนทั้งหลาย” (ซูเราะฮ์อันฟาล อายะฮ์ที่ 46)

4. การละทิ้งการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว การละทิ้งความอดทนการละเลยความดี แต่ให้ความสำคัญความชั่ว หรือสนับสนุนส่งเสริมสิ่งไม่ดีไม่งามทั้งหลายทั้งปวง หรือไม่ใส่ใจสิ่งใดทั้งสิ้น ดังปรากฎนัยแห่งอัลกุรอาน ดังนี้

ความว่า “ปรากฏว่าพวกเขาต่างไม่ห้ามปรามกันในสิ่งไม่ชอบที่พวกเขาได้กระทำขึ้น ช่างเลวร้ายจริง ๆ สิ่งที่พวกเขากระทำ”  (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่ 79 )

5. ไม่บริจาค ไม่เสียสละทรัพย์สินและชีวิตเพื่อรับใช้อิสลาม มีความลุ่มหลงในทรัพย์สินศฤงคาร และหลงใหลในกิเลสตัณหา ดังปรากฏนัยแห่งอัลกุรอาน ดังนี้

ความว่า “การตอบแทนแก่บรรดาผู้ที่ทำสงครามต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) และร่อซูลุลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ของพระองค์ และพยายามบ่อนทำลายในแผ่นดินนั้นก็คือการที่พวกเขาจะถูกฆ่า หรือถูกตรึงบนไม้กางเขน หรือมือของพวกเขาและเท้าของพวกเขาจะถูกตัดสลับข้าง หรือถูกเนรเทศออกไปจากแผ่นดิน นั่นคือ พวกเขาจะได้รับความอัปยศในโลกนี้ และจะได้รับการลงโทษอันใหญ่หลวงในปรโลก” (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่ 33)

ท่านพี่น้องผู้ห่างไกลจากการทุจริต คิดมิชอบที่รักทั้งหลาย แนวทางในการบำบัดรักษาดังกล่าว ไม่มีสิ่งใดมากเกินเลยไปกว่าการมีศรัทธาต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) และการละเว้นความเป็นฏอฆูตในแง่มุมของชีวิต โดยผ่านสมาชิกทุกคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารผู้ปกครอง ผู้รู้ หรือแม้แต่สามัญชนคนธรรมดาในทุกระดับของสังคม หากมนุษย์คิดถึงความสูญสิ้นของโลกที่มีอายุขัยสั้นเพียงเล็กน้อยนี้ แน่นอน เขาก็จะมีชัยชนะเหนืออำนาจใฝ่ต่ำของตน เหนือกิเลสและความต้องการทางกามารมณ์ของตน และจะไม่หลงใหลเป็นเด็ดขาต ไม่หลงระเริงกับวัตถุปัจจัย เขาจะคำนึงถึงแต่ปรโลกที่มีความยาวนาน และเป็นอมตะนิรันดร์กาล พึงรู้ไว้ว่า มีผู้มองดูเราอยู่ตลอดเวลา มีผู้ คอยเป็นห่วงสภาพการณ์ของเราเสมอ อีกทั้งคอยจดบันทึกการงานและความคิดตลอดเวลา ยังมีโลกอีกโลกหนึ่งหลังจากนี้ ซึ่งในโลกนั้น เราต้องคอยตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการงานและความประพฤติของเราบนโลกนี้ โลกที่มีความอมตะไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งไม่มีหนทางเลือกสรร หรือการทดแทนอีกแล้ว หรืออีกนัยหนึ่ง หากมนุษย์เลือกปฏิบัติตามธรรมชาติและสติปัญญาของตน ไม่ยึกถือปฏิบัติตามความพอใจหรืออำนาจใฝ่ต่ำอันเป็นพลังของเดรัจฉานที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ ยอมจำนนต่อความจริงและหลีกห่างความชั่วโดยแท้จริง สิ่งนี้ในความเป็นจริงหมายถึง การละเว้นความชั่วร้ายลและความต่ำทรามบนหน้าแผ่นดิน เท่ากับตนได้เข้าไกล้ความเจริญผาสุก และความรุ่งเรือง ทั้งโลกนี้และปรกโลกหน้าอย่างแน่นอน

น้องผู้มีจิตใจเปี่ยมล้นด้วยความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่รักทั้งหลายจากสาระข้อมูลดังกล่าว พี่น้องอาจจะประมวลได้ว่า การยึดถือเอาความชั่วร้ายและสิ่งไม่ดีเป็นมาตรฐานสำหรับวัดความเป็นมนุษย์ มาตรวัดการดำรงอยู่ หรือแยกตัวไปจากศาสนา แต่ความศรัทธาและการปฏิบัติคุณความดีกลับกลายเป็นปัญหาของสังคม เมื่อถึงเวลานั้น เราควรจะทำอย่างไร หากบุคคลนั้นมีความสามารถและมีบทบาทต่อสังคม หรือเป็นผู้บริหาร ผู้ปกครอง ดังนั้น ต้องถือเป็นหน้าที่โดยตรงที่จะต้องให้การชี้นำและเปลี่ยนแปลงสังคมเท่าที่สามารถจะทำได้ ประเด็นสำคัญก็คือ ต้องมีความจริงจังในการปกป้องสังคมให้ปลอดจากการทุจริต คิดมิชอบ ทั้งที่เป็นเรื่องของสังคมส่วนรวม หรือแม้จะเป็นเรื่องระหว่างกลุ่มพรรคพวก และปัจเจกบุคคลก็ตาม เพราะเรามีความเชื่อมั่นว่า อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงรู้ และทรงเห็นในพฤติกรรมแห่งเรา ไม่ว่าจะเป็นที่ลับหรือเปิดเผย

ขออัลลอฮ์ (ซ.บ.)ได้โปรดประทานสัมฤทธิผลและทางนำแก่เราด้วยเทอญ

โดย ดร.วิศรุต เลาะวิถี

ที่มา : จากหนังสือ "คุตบะห์การทุจริต คอร์รัปชั่น วิกฤติชาติที่คนไทยต้องร่วมต้าน"